วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัตถุในออกฤทธิ์ต่อจิตเเละประสาท

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นสมควรมีกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย(๑)
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป(๒)
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
"วัตถุออกฤทธิ์" หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
"วัตถุตำรับ" หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรม ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้


(๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๑ ก ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
(๒) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๕ ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๘


"วัตถุตำรับยกเว้น" หมายความว่า วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น
    "เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์" หมายความว่า กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป  รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวมไว้กับภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
    "ผลิต" หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงเปลี่ยนรูป แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
    "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย
    "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้าในราชอาณาจักร
    "ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกจากราชอาณาจักร เพื่อไปต่างประเทศ
    "นำผ่าน" หมายความว่า นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักร แต่ไม่รวมถึงการนำหรือส่งวัตถุออกฤทธิ์ผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้มีการขนถ่ายออกจากเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
    (๓)"เสพ" หมายความว่า การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด
    (๔) "ติดวัตถุออกฤทธิ์" หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันจนตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุออกฤทธิ์นั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ
    (๕) "การรักษาพยาบาล" หมายความว่า การรักษาพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ รวมตลอดถึงการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ เพื่อให้บุคคลนั้นกลับคืนสู่สภาพของปกติชน
    (๖) "สถานพยาบาล" หมายความว่า สถานพยาบาลหรือสถานพักฟื้นที่ให้การรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพของผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามมาตรา ๖
    "สถานที่" หมายความรวมถึง อาคารหรือส่วนของอาคารและบริเวณของสถานที่ด้วย
    "เภสัชกร" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม
    "ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติ ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งนิติบุคคลแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ด้วย
    "ผู้อนุญาต" หมายความว่า
    (๑)   เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
             (ก)   สำหรับการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ใดๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
             (ข)   สำหรับการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ และประเภท ๔ หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
             (ค)   สำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท ๓ และประเภท ๔ ในกรุงเทพมหานคร
    (๒)   ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท ๓ และประเภท ๔ ในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร
    "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
    "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    "เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา


(๓) - (๖)  ข้อความข้างต้น เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓
               (หมายเหตุ  พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๔
                ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕)


"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๑)    ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ใดอยู่ในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ (๗)                   
(๒)   กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณส่วนประกอบ คุณภาพ ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของวัตถุออกฤทธิ์ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษาวัตถุออกฤทธิ์ตาม (๑)
(๓)   เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตาม (๑)
(๔)   ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามมิให้ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง
(๘)(๔ ทวิ) ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ซึ่งอนุญาตให้ผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกได้
(๕) ระบุชื่อประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องมีคำเตือน หรือข้อควรระวังเป็นหนังสือหรือเป็นภาพ ให้ผู้ใช้ระมัดระวังตามความเป็นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
(๖) ระบุชื่อประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก
(๗) ระบุวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้น
( ๙)(๗ ทวิ) กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๐๖ ทวิ
(๘)  ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้าไปยังประเทศหนึ่งประเทศใดตามมาตรา ๘๓
(๙) ระบุสถาบันทางราชการตามมาตรา ๑๕(๒) มาตรา ๑๗(๒) และมาตรา ๖๓(๓)
( ๑๐) (๑๐) กำหนดสถานพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์
( ๑๑)(๑๑) กำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการรักษาพยาบาล
และระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น