วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปสาระสำคัญ


สรุปสาระสำคัญ
                1. ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย
                2. ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน
                3. ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุดคือ เฮโรอีน
                4. ผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่าย กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนัก คือ ประหารชีวิต

ประเทของยาเสพติดให้โทษ


4. ประเทของยาเสพติดให้โทษ
               
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท คือ
                1. ประเภทที่ 1 เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
                2. ประเภทที่ 2 เป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่นยา โคคาอีน โคเคอีน
                3. ประเภทที่ 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติด ประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาเม็ดตกเบ็ด ซึ่งมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนชนิดเข้มข้นเป็น   ส่วนผสม ยาแก้ไอน้ำเชื่อมมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเป็นส่วนผสม ฯลฯ
                4. ประเภทที่ 4 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 – 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
5. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
                ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้เป็น 5 ฐาน
                1. ฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                2. ฐานจำหน่าย หรือมีไว้ในความคอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                3. ฐานมีไว้ในความคอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                4. ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ
                5. ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอยู่เสมอ และมีบางคนถูกชักจูงให้ร่วมกระทำความผิดโดยความไม่รู้ และเมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้จะถูกดำเนินคดี ในที่สุดก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย จึงขอยกตัวอย่างความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่พบเสมอและน่าสนใจดังนี้
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                1. ผู้ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่น เฮโรอีน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
                2. ถ้าผู้ใดบังอาจผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่ายแล้ว กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนักถึงประหารชีวิต
                3. ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครอง
                1. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น เฮโรอีนไว้ในความครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
                2. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในคอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท  ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน นั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่  50,000-500,000 บาท
                3. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา)ไว้ในความครอบครองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานเสพติดให้โทษ

               
1. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เฮโรอีน) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
                2. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
                กรณีตัวอย่างความผิดในฐานต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั้น จะได้รับโทษสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับฐานความผิดและประเภทของยาเสพติด เช่น โทษฐานจำหน่ายย่อมสูงกว่าโทษเสพหรือมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ประเภทเฮโรอีน ก็ย่อมได้รับโทษสูงกว่ามีกัญชาไว้ในครอบครอง เป็นต้น

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ


2. ความหมายของยาเสพติดให้โทษ
                ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษผสมอยู่
3. ลักษณะของยาเสพติดให้โทษ
               
ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ฯลฯ
                3.1 ฝิ่น เป็นยาเสพติดที่แพร่หลายก่อนที่ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ฝิ่นสกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ เมื่อเคี่ยวสุกจะมีสีดำรสขมมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัว
                3.2 มอร์ฟีน เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นประมาณ 10 เท่า สกัดได้จากฝิ่นมักทำเป็นผงสีขาวหรือเท่า ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำได้ง่าย
                3.3 เฮโรอีน เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงที่สุด และเป็นพิษเป็นภัยแพร่หลายระบาดมากที่สุดในปัจจุบัน มีฤทธิ์และโทษรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ 100 เท่า รุนแรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่าเฮโรอีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ชนิด
                        1) เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวไม่มีกลิ่น รสขมจัด
                        2) เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีเบอร์ 3 หรือไประเหย โดยจะผสมสารอื่นปนไปด้วย มีลักษณะเป็นเกล็ด มีสีต่างๆ เช่น ม่วง แดง ส้ม เทา น้ำตาล เป็นต้น
                3.4 กัญชา เป็นพืชล้มลุก มีสารที่ทำให้เสพติด คือ ยางเรซินของดอกกัญชา และยางที่ออกจากใบของต้นกัญชาตัวเมีย กัญชามีฤทธิ์กระตุ้นทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ความนึกคิดสับสน ประสาทมึนงง ถ้าเสพนานเข้าอาจกลายเป็นโรคจิตได้
                3.5 กระท่อม สารที่ทำให้เสพติดมีอยู่ในใบของกระท่อม มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน ประสาทมึนชา   ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยาเสพติดให้โทษ ซึ่งนำมาเป็นเพียงตัวอย่างให้นักเรียนได้รับความรู้แต่เพียงย่อๆ

ยาเสพติดให้โทษ


1. อันตรายของยาเสพติดให้โทษ
                1.1 ทำลายสุขภาพ ยาเสพติดส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงทำให้สุขภาพทรุดโทรม ร่างกายซูบผอม น้ำหนักลดอ่อนเพลียไม่มีแรงในการทำงาน เกียจคร้าน เฉื่อยชา ถ้าเป็นนักเรียน ก็ไม่อยากเรียนหนังสือ เบื่อหน่ายในการเรียน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่เชื่อถือหรือไม่ไว้วางใจในการที่จะทำงานร่วมด้วย
                1.2 ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง ทำให้สมองมึนชา มึนงง ขาดความว่องไวในการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถ้าผู้ติดยาเสพติดขับขี่พาหนะ นอกจากจะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วย               
                1.3 เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เพราะมีความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ติดยาเสพติดก็เป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ทำให้โรคนี้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
                1.4 จิตใจไม่ปกติ ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีอาการอยากยา อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งเชื่องซึมบางครั้งคลุ้มครั่ง กระวนกระวาย เป็นหาทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมได้ง่าย เนื่องจากต้องการเงินมาใช้ในการซื้อยามาเสพ
                นอกจากยาเสพติดที่เป็นอันตรายแล้ว ยังมีสิ่งเสพติดที่แพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างมากในปัจจุบันนี้ คือ น้ำมันระเหยหอม ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในด้านการอุตสาหกรรม แต่ถ้าสารระเหยหมอเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม โดยจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สารเหล่านี้ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันแลคเกอร์ น้ำมันก๊าด กาวชนิดต่างๆ ยาทาเล็บ น้ำยาซักแห้ง น้ำมันขัดเงา ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำใหเกิดพิษต่อร่างกายเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการเมาคล้ายคนเมาสุรา วิงเวียน ภาพหลอน ประสาทหลอน ถ้าสูดดมเกิดขนาดอาจหมดสติถึงตายได้ เนื่องจากฤทธิ์ของน้ำระเหยหมอจะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองทำให้หยุดหายใจ
                เมื่อนักเรียนรู้ว่า ยาเสพติดและสิ่งเสพติดประเภทน้ำมันระเหยหอมเป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะทดลองและรู้จักปฏิเสธ เมื่อถูกผู้อื่นชักชวนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเองแล้วยังมีผลเสียต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ  ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยาเสพติดให้โทษ

       มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช 2464
(2) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479
(3) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2502
(4) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2504
(5) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2518
(6) พระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477
(7) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พุทธศักราช 2846
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ยาเสพติดให้โทษ" หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อย ๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วย ยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่
"ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทาง
วิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย
"จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้
"นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
"ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
"เสพ" หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือมีอาการ ติดยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสามารถตรวจสอบและแสดงผลได้ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าผู้นั้น ได้รับยาเสพติดให้โทษประเภทใดเข้าสู่ร่างกาย
"สถานพยาบาล" หมายความว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาลสถานพักฟื้นเฉพาะที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นสถานที่ทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
"เภสัชกร" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม
"ตำรับยา" หมายความว่า สูตรของสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มียาเสพติดให้โทษรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้ แก่คนหรือสัตว์ได้
"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
"ผู้อนุญาต" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัตินี้
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ
ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความจริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใ ช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ .

 ป้องกันยาเสพติด

ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก แลบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)

การใช้สารระเหย

              สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟความรู้เกี่ยวกับสารกล่อมสิ่งเสพติดและการป้องกัน
สิ่งเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
1ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
2ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
3ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

ประเภทของยาเสพติด

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
1ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
1ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
1ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา
จำแนกตามแหล่งที่มา
1จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
2จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
1พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
2พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน
 สาเหตุของการติดยาเสพติด
การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
  • ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่
  • เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
  • ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
  • สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
  • ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
  • อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม

เนื้อหา

 [ซ่อน

วัตถุในออกฤทธิ์ต่อจิตเเละประสาท

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นสมควรมีกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย(๑)
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป(๒)
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
"วัตถุออกฤทธิ์" หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
"วัตถุตำรับ" หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรม ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้


(๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๑ ก ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
(๒) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๕ ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๘


"วัตถุตำรับยกเว้น" หมายความว่า วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น
    "เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์" หมายความว่า กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป  รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวมไว้กับภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
    "ผลิต" หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงเปลี่ยนรูป แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
    "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย
    "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้าในราชอาณาจักร
    "ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกจากราชอาณาจักร เพื่อไปต่างประเทศ
    "นำผ่าน" หมายความว่า นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักร แต่ไม่รวมถึงการนำหรือส่งวัตถุออกฤทธิ์ผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้มีการขนถ่ายออกจากเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
    (๓)"เสพ" หมายความว่า การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด
    (๔) "ติดวัตถุออกฤทธิ์" หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันจนตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุออกฤทธิ์นั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ
    (๕) "การรักษาพยาบาล" หมายความว่า การรักษาพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ รวมตลอดถึงการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ เพื่อให้บุคคลนั้นกลับคืนสู่สภาพของปกติชน
    (๖) "สถานพยาบาล" หมายความว่า สถานพยาบาลหรือสถานพักฟื้นที่ให้การรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพของผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามมาตรา ๖
    "สถานที่" หมายความรวมถึง อาคารหรือส่วนของอาคารและบริเวณของสถานที่ด้วย
    "เภสัชกร" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม
    "ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติ ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งนิติบุคคลแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ด้วย
    "ผู้อนุญาต" หมายความว่า
    (๑)   เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
             (ก)   สำหรับการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ใดๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
             (ข)   สำหรับการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ และประเภท ๔ หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
             (ค)   สำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท ๓ และประเภท ๔ ในกรุงเทพมหานคร
    (๒)   ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท ๓ และประเภท ๔ ในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร
    "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
    "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    "เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา


(๓) - (๖)  ข้อความข้างต้น เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓
               (หมายเหตุ  พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๔
                ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕)


"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๑)    ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ใดอยู่ในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ (๗)                   
(๒)   กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณส่วนประกอบ คุณภาพ ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของวัตถุออกฤทธิ์ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษาวัตถุออกฤทธิ์ตาม (๑)
(๓)   เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตาม (๑)
(๔)   ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามมิให้ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง
(๘)(๔ ทวิ) ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ซึ่งอนุญาตให้ผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกได้
(๕) ระบุชื่อประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องมีคำเตือน หรือข้อควรระวังเป็นหนังสือหรือเป็นภาพ ให้ผู้ใช้ระมัดระวังตามความเป็นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
(๖) ระบุชื่อประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก
(๗) ระบุวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้น
( ๙)(๗ ทวิ) กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๐๖ ทวิ
(๘)  ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้าไปยังประเทศหนึ่งประเทศใดตามมาตรา ๘๓
(๙) ระบุสถาบันทางราชการตามมาตรา ๑๕(๒) มาตรา ๑๗(๒) และมาตรา ๖๓(๓)
( ๑๐) (๑๐) กำหนดสถานพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์
( ๑๑)(๑๑) กำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการรักษาพยาบาล
และระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล

การค้ายาเสพ

 การปราบปรามยาเสพติดและ การบังคับใช้กฎหมายการค้ายาเสพ ติดในประเทศไทยมีโทษประหารชีวิต  
           ในประเทศไทยการครอบครองยาเสพติดประเภท หนึ่งเพื่อจำหน่ายมีโทษประหาร พระราชบัญญัติ ระบุว่า เจ้าหน้าที่มีสิทธิที่จะตั้งคำถาม ยับยั้ง การค้นหาสถานที่ คน และยึดยาเสพติดหรือทรัพย์สินใด ๆ ที่ใช้ในการ กระทำความ ผิด เมื่อสงสัยว่ามีการซื้อขายยาเสพติดซึ่งเจ้าหน้าที่ จะ ต้องกระทำด้วยความสุจริต ให้เหตุผลกับผู้ต้องสงสัยและทำบันทึกเหตุการณ์


ยาบ้า
วันที 19 พฤษภาคม 2008 ประเทศไทยเรียกยาเม็ดเมตาเฟตามีนว่า “ยาบ้า” ในเอเชียตะวันออกช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ยาตัวนี้ใช้กันมากในหมู่ทหารและกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในเอเชีย ยาบ้ามีเมตาเฟตามีนซึงเป็นสารผิดกฎหมายเป็นส่วนผสมหลัก มีแหล่งผลิตใน ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า

ยาบ้าประกอบด้วยคาเฟอีนและเมตาเฟตามีน 30 เปอร์เซ็นต์ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ยาบ้าจะอยู่ในรูปของยาเม็ดใช้เสพโดยการบดหรือสูบ ผู้ที่ได้รับยาตัวนี้จะทำให้ตื่นตัว ลดความอยากอาหาร และมีประสาทสัมผัสทั่วไปดีขึ้น แต่มีผลเสียทำให้มีปัญหานอนไม่หลับและหดหู่
ผู้ใช้ที่เสพยาตัวนี้เป็นเวลานานจะทำให้ต้องเสพในบริมาณมากขึ้น การรับยามากเกินไปจะทำให้ระบบทางเดินหายใจและหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ยาตัวนี้ยังทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
ยาบ้าถูกใช้ในหมู่ผู้ใช้แรงงานมา 10 กว่าปีแล้ว เช่น พนักงานขับรถบรรทุก โดยเริ่มในประเทศไทยแล้วแพร่เข้าสู่ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม ซึ่งมีการประมาณการว่ามีผู้ใช้ยาบ้าร่วมล้านคน ในปี2007มีการขนยาบ้าประมาณ 1,200,000 เม็ด เข้าสู่บังคลาเทศ ซึ่งจัดว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่
การแพร่กระจายของยาบ้าในประเทศกำลังพัฒนา นายเจอรามี่ ดักลาส ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานอาชยากรรมและยาเสพติดสหประชาชาติ ได้อธิบายว่า ยาบ้ามีต้นทุนในการผลิตและการซื้อที่ราคาไม่แพง มีการขยายตลาดอย่างรวดเร็วเพราะมีราคาถูกและมีการเสพมาก ในประเทศกัมพูชายาบ้า เม็ดละ ราคา 1 ยูเอสดอลลาร์ แต่ในประเทศไทยราคาเม็ดละ 5 ยูเอสดอลลาร์ ยาบ้ามีขั้นตอนการผลิตที่ง่ายมากคุณสามารพผลิตที่ไหนก็ได้ ถ้าคุณมีวัตถุดิบครบใน 1 ชั่วโมงคุณสามารถผลิตยาบ้าได้ถึง 10,000 เม็ด
ภูมิภาคที่แตกต่างกัน ในอัฟกานิสถาน พืชที่เป็นยาเสพติด เช่น ฝิ่น ยาเสพติดสังเคาระห็เช่น ยาบ้า สามารถผลิตจากที่ไหนก็ได้ในโลกที่มีจุดอ่อนในการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบการใช้สารเคมี ยาบ้าเป็นยาที่ง่ายต่อการพกพาและการผลิตทำให้ยากที่จะตรวจสอบและประเมินสถานการณ์ นายเจอรามี่ ดักลาสกล่าวอีกว่า ในขณะข้อมูลเกี่ยวกับยาบ้าค่อนข้างเปราะบาง ในบางส่วนของโลกเรารู้แค่ว่ามียาบ้าแต่ไม่รู้ขอบเขตที่แน่นอน
สำนักงานอาชญากรรมและยาเสพติดสหประชาชาติ จึงได้จัดตั้งโครงการ the Global Synthetics Monitoring ซึ่งจะวิเคราะห์ รายงาน และ วิเคราะห์แนวโน้ม (SMART) มีการกำหนดจุดเสี่ยงทั่วโลก SMART ทีมจะเข้าไปประเมินข้อมูลเพื่อนำไปสร้างแนวทางป้องกันและกฎหมาย
กัญชา
กัญชา คือ บุหรี่ที่อาจมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอ่อน ประกอบด้วย ดอก แห้งและใบของกัญชา กัญชาแท่งมีสีดำแห้งหรือน้ำตาลสกัดจากดอกกัญชาซึ่งทำเป็นผงหรืออัดเป็นแท่ง กัญชาในรูปน้ำมันคือกัญชาแท่งที่อยู่ในรูปของเหลว กัญชาถูกปลูกในที่ทุรกันดานเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกจับกุม

การเสพกัญชา
ใบแห้งดอกแห้งใช้วิธีสูบ กัญชาแท่งและกัญชาในรูปน้ำใช้วิธีรับประทานหรือชงกับชา

ผลของฤทธิ์ยา
ทำให้ผู้เสพรู้สึกผ่อนคลายและมีระบบประสาทสัมผัสที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นสายตา กลิ่น รส และ การ ได้ยินทำให้ผู้เสพรู้สึกคึกครื้น

ผลเสียของการใช้กัญชา
ผลข้างเคียงเล็กน้อยจะทำให้ผู้เสพอยากอาหารชีพจรเต้นเร็วขึ้น สามารถในการควบคุมสติและร่างกายลดลง หากเสพมากอาจมีผลกับระบบประสาท เชื่องช้า และสับสนทางความคิด เกิดความกังวล หวาดกลัว และอาจถึงขั้นวิกลจริต การสูบกัญชาจะได้รับสารทาร์มากกว่าการสูบบุหรี่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์จึงมีความเลี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดและโรคระบบทางเดินหายใจมาก นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรค เอดส์เพราะขาดสติทำให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน อาจเป็นโรคตับอักเสบและโรคติดเชื้ออื่นๆ

การครอบครองยาเสพติด

       กฎหมายการครอบครองยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอยู่ภายใต้พรบ.ยาเสพติดให้โทษปีพ.ศ.2522  การผลิตยาเสพติด(เฮโรอีน เมตาเฟตามีน หรือ แอลเอสดี) มีโทษประหารชีวิต
การครอบครองจำหน่ายจ่ายแจง เฮโรอีน เมตาเฟตามีน หรือแอลเอสดี มีโทษจำคุก 4 ปี จนถึประหารชีวิต การครอบครองกัญชามีโทษจำคุกสูงสุด 5ปี
เฮโรอีน ครอบครองไม่เกิน 3 กรัม มีโทษจำคุก 4 ถึง 15 ปี ครอบครอง 3 ถึง 20 กรัม มีโทษจำคุก 4 ปี ถึงตลอดชีวิต ครอบครองตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ถึงประหารชีวิต
      กัญชา
ครอบครองไม่เกิน 5 กิโลกรัม มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี
ครอบครอง 5 กิโลกรัม ถึง 20 กิโลกรัม มีโทษจำคุก 2 ถึง 10 ปี
ครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป มีโทษจำคุก 2 ถึง 15 ปี
       ยาบ้า
ครอบครองไม่เกิน 1.5 กรัม มีโทษจำคุก 4 ถึง 15 ปี
ครอบครอง 1.5 ถึง 20 กรัม มีโทษจำคุก 4 ปี ถึงตลอดชีวิต
ครอบครองตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ถึงประหารชีวิต
       สำหรับการใช้สารต่อไปนี้
เฮโรอีน ไดอะเซททิลมอร์ฟีน สามารถใช้เป็นยาบรรเทาปวดได้ตามกฏหมาย โคเคน เกลือของไฮโดรคลอไรด์ สามารถใช้เป็นยาชาได้ตามกฏหมาย
โคเคนที่อยู่ในรูปของแข็งหรือที่สามารถสูบได้ถือเป็นโคเคนบริสุทธิ์
      ยาไอซ์ เมตาเฟตามีน สารกระตุ้นที่มีส่วนประกอบของเมตาเฟตามีน ใช้เป็นยากระตุ้นให้เกิดพลังอารมณ์ทางเพศ สร้างสมาธิ ลดน้ำหนัก เป็นยาที่มีผลกับทั้งร่างกายและจิตใจ
ยาบ้า กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและลดความอยากอาหาร
ยาผิดกฏหมายที่ขายในตลาดมืดจะมีส่วนผสมของยาที่ไปกระตุ้นการทำงานของสมองอย่างน้อย 1 ตัว กัญชา ผลิตจากใบและดอกของต้นกัญชา
คดีความของคุณจะร้ายแรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นเพียงผู้ครอบครอง ผู้ขายหรือผู้ผลิต ยาชนิดใดข้างต้น